แนะนํา

        โครงการที่เกี่ยวข้อง

          “เริ่มพูด”

          คำที่ต้องการค้นหา

          กำลังประมวลผล ...

          “ไม่ได้รับข้อมูลเสียง”

          ลองใหม่อีกครั้งนะคะ

            {{submenu_experience-ss_col_1}}
            {{submenu_experience-ss_col_2}}
            {{submenu_experience-ss_col_3}}

          ลงชื่อเข้าใช้งาน

          ต้องการข้อเสนอตรงใจ

          กรุณาอัพเดทโปรไฟล์ของคุณ
          เพื่อให้นำเสนอข้อมูลโครงการได้ตรงใจคุณยิ่งขึ้น

          คำแนะนำการซื้ออสังหาริมทรัพย์

          เจาะลึกทุกรายละเอียดการลงทุนอสังหาฯ อย่างเชี่ยวชาญ ได้ที่นี่

          ลงทุนอสังหาฯ

          ศึกษากฎหมายอสังหาริมทรัพย์ควรรู้ และหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน-คอนโด ก่อนทำการลงทุน

          กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ นิติกรรมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และการทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านก่อนลงทุน

          ใครที่เป็นนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ นอกจากจะมีความรู้เรื่องการลงทุน รู้จักวิเคราะห์ คาดการผลกำไรในอนาคตให้ได้แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนต้องมีความรู้ประกอบควบคู่กันไปด้วย นั่นก็คือเรื่องของ “กฎหมายอสังหาริมทรัพย์” ที่เป็นเหมือนข้อบังคับให้การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งนักลงทุนทุกคนจะต้องศึกษาและรับทราบไว้ โดยหัวข้อหลักๆ ที่จะต้องรู้จะมีตั้งแต่ นิติกรรมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ การทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน ค่าธรรมเนียมและภาษี ตลอดจนการปล่อยเช่าที่เพิ่งมีการแก้กฎหมายใหม่ไป

          กฎหมายอสังหาฯ ที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

          นิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกทางด้านกฎหมายที่นักลงทุนจำเป็นต้องรู้ เพราะเมื่อเกิดการซื้อขาย เปลี่ยนมืออสังหาริมทรัพย์ จะมีทั้งเรื่องการทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านและคอนโด การจดทะเบียน เอกสารสิทธิ์ การโอน โดยในเรื่องของนิติกรรม สิ่งที่นักลงทุนควรรู้ คือ

          การทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านและคอนโด

          การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์จะต้องมีการเปลี่ยนมือการครอบครองบ่อยครั้ง และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านและคอนโด ส่วนประกอบสำคัญที่เป็นเครื่องยืนยันการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสัญญาจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ฉบับ คือ

          1. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือสัญญาซื้อขายที่จะใช้ในการจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่


            เป็นสัญญาที่กฎหมายบังคับให้ต้องมี และนำไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่พนักงาน โดยผู้ที่กำลังทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แต่ไม่พบว่ามีการทำสองขั้นตอนตามที่กล่าวมา ทางกฎหมายจะถือว่าการซื้อขายเป็นโมฆะ
          2. สัญญาจะซื้อจะขาย


            สัญญานี้กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำ แต่เพื่อเป็นการแสดงเจตนาว่าจะมีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นจริงในอนาคต ผู้ขายส่วนใหญ่จึงทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านและคอนโดฉบับนี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจำก่อนและภายหลังจึงจะสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ หากมีการโกงเงินมัดจำหรือมีการผิดสัญญาที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันไว้

          กฎหมายอสังหาฯ ที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

          หากถามว่าทำไมนักลงทุนต้องรู้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ด้วยเมื่อเกิดการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ต้องบอกเลยว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีผลต่อการตั้งราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ให้ได้กำไร เพราะส่วนต่างการจ่ายค่อนข้างเยอะ โดยส่วนใหญ่จะใช้ราคาประเมินจากกรมธนารักษ์เป็นตัวกำหนดราคาในการเสียค่าธรรมเนียมการโอนบ้าน คอนโดฯ และภาษี โดยประกอบด้วยกัน 4 รายการ คือ

          1. ค่าธรรมเนียม


            กฎหมายอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมกำหนดว่าทุกครั้งที่มีการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์จะต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 2% จากราคาประเมิน ไม่มีข้อยกเว้น โดยทั่วไปผู้ขายและผู้ซื้อมักจะแบ่งชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวที่อัตราร้อยละ 1%
          2. ค่าอากร


            ค่าอากรแสตมป์ผู้ขายจำเป็นต้องชำระแต่เพียงผู้เดียวในอัตรา 0.5% จากราคาประเมินหรือราคาตลาด ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า ซึ่งจะได้รับการยกเว้นก็ต่อเมื่อการซื้อขายสังหาริมทรัพย์มีการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะที่จะมีรายละเอียดในข้อถัดไป
          3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ


            ผู้ขายที่ครอบครองอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลาน้อยกว่า 5 ปีหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนานกว่า 1 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ในอัตราร้อยละ 3.3 จากราคาประเมินหรือราคาตลาดขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า ทั้งนี้จะได้รับการยกเว้นหากอสังหาริมทรัพย์ที่ทำการซื้อขายได้มาจากการรับมรดก
          4. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย


            เมื่อผู้ขายมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ จึงจำเป็นที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ผู้ขายจึงต้องเป็นคนรับผิดชอบทั้งหมด โดยพิจารณาจากจำนวนปีที่ถือครอง เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมไปจนถึง 31 ธันวาคม หากมีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ภายในปีเดียวกัน นับเป็นการถือครอง 1 ปี
          ระยะเวลาถือครอง 1 2 3 4 5 6 7 8 ปีขึ้นไป
          เงินได้ที่นำมาคำนวนภาษี 8% 16% 23% 29% 35% 40% 45% 50%

          ตัวอย่าง สามารถคำนวณได้จากการนำราคาประเมินมาคูณกับอัตราภาษีร้อยละการถือครองที่กฎหมายกำหนด และนำผลลัพธ์ที่ได้มาหารด้วยจำนวนปีที่ถือครองจะได้จำนวนค่าใช้จ่ายที่ต้องนำไปเสียภาษีในปีต่อไป

          กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยเช่า

          กฎหมายข้อนี้เป็นเรื่องที่ต้องรู้เพราะเกี่ยวข้องกับนักลงทุนโดยตรง ซึ่งในปัจจุบันทางภาครัฐก็ค่อนข้างจะเข้มงวดกับการปล่อยเช่า และเมื่อกลางปี 2561 ก็ได้มีการเริ่มใช้กฎหมายใหม่ ดังนั้นกฎหมายข้อนี้จึงเป็นเรื่องที่นักลงทุนพลาดไม่ได้เลย โดยทั้งนี้จะขอกล่าวส่วนหลักๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักลงทุนที่อยากปล่อยเช่าอสังหาฯ ด้วยตัวเอง 2 ส่วนด้วยกันคือ
          1. กฎหมายใหม่ว่าด้วยการปล่อยเช่าและเก็บค่าเช่าอาคารที่อยู่อาศัย


            ซึ่งนอกจากการปล่อยอาคารชุดให้เช่ารายวันไม่ได้แล้ว ยังประกอบไปด้วยเนื้อหาหลักๆ ที่นักลงทุนควรรู้ คือ
            • ห้ามไม่ให้มีการเก็บค่าเช่า ล่วงหน้าเกินจำนวน 1 เดือนพร้อมรับเงินประกัน ซึ่งทางผู้เช่าสามารถที่จะยกเลิกสัญญาได้ โดยจะต้องมีการบอกล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 30 วัน
            • อัตราค่าไฟและค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ผู้ให้เช่าต้องส่งใบแจ้งหนี้และรายละเอียดต่างๆ ให้กับผู้เช่าล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 7 วัน ก่อนถึงกำหนดชำระ
            • เมื่อสัญญาการเช่าสิ้นสุดหรือมีการแจ้งยกเลิกสัญญาตามกำหนดที่ถูกต้อง ทางผู้ให้เช่าจะต้องคืนเงินค่าประกันให้กับทางผู้เช่าทันที ยกเว้นจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหลังจากตรวจสอบความเสียหายภายในที่อยู่อาศัย
            • ผู้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาการเช่าได้ตลอดเวลา แต่ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 30 วัน โดยผู้เช่าจะต้องไม่ค้างชำระค่าเช่า หรือไม่ผิดนัดการจ่ายค่าเช่า
          2. กฎหมายควบคุมการปล่อยเช่าคนต่างชาติ


            ข้อนี้กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ไทยไม่ได้ห้ามใดๆ เกี่ยวกับการเช่า เพียงแต่ก่อนจะปล่อยเช่าผู้ให้เช่าต้องปฏิบัติข้อบังคับตามกฎหมาย ดังนี้
            • ผู้ให้เช่าหรือเจ้าของคอนโดฯ ต้องแจ้งข้อมูลชาวต่างชาติที่เข้าพักในห้องชุดของตนกับที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง และผู้เช่าที่เป็นชาวต่างชาติจะต้องได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวในช่วงเวลาที่ย้ายเข้าพักอาศัยนั้นด้วย
            • ผู้ให้เช่าต้องแจ้งข้อมูลและยื่นเอกสารเกี่ยวกับชาวต่างชาติที่เช่าห้องชุดให้เจ้าหน้าที่นิติบุคคลเก็บไว้เป็นหลักฐาน ประกอบไปด้วยสำเนาบัตรประจำตัวหรือหนังสือเดินทาง สำเนาใบสำคัญแสดงถิ่นที่อยู่ของผู้เช่าพักอาศัยและบริวารในห้องชุด สำเนาใบรับการแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย นอกจากนี้ผู้เช่าต่างชาติไม่สามารถเข้าพักได้เกิน 3 คนต่อ 1 ห้องชุด
          จากที่กล่าวมาทั้ง 3 ข้อหลัก ถือเป็นกฎหมายอสังหาริมทรัพย์พื้นฐานที่ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือนักลงทุนหน้าเก่าจำเป็นจะต้องรู้ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือกระบวนการ ซื้อ ขาย เช่า ที่ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งยังสามารถป้องกันกลโกงที่จะเกิดขึ้นได้หลังการขายด้วย อ่านเพิ่มเติม เมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพียงรู้ 5 วิธีเอาตัวรอด ที่นี่